- ท่องเที่ยวตามฮีตประเพณีตำบลขวาว
ฮีตสิบสอง หมายถึง จารีตประเพณีประจำสิบสองเดือน ซึ่งถือเป็นโอกาสดีที่ชาวบ้านจะได้มาร่วมชุมนุมและทำบุญในทุกๆ เดือนของรอบปี และถือเป็นจรรยาของสังคม ผู้ที่ฝ่าฝืนก็จะเป็นผู้ที่ ผิดฮีต หรือ ผิดจารีต นั่นเอง(หลายครั้ง ฮีตสิบสอง มักจะกล่าวควบคู่" คลองสิบสี่ "(คองสิบสี่) ที่เป็นดังแบบแผนหรือแนวทางดำเนินชีวิต(คลอง=ครรลอง)แต่จะมุ่งเน้นไปทางศีลธรรมมากกว่าด้านอาชีพ) | |||||
สำหรับประเพณีหลักๆ 12 เดือนตามฮีตสิบสองของชาวอีสานโบราณนั้นประกอบด้วย ![]() ![]() ![]() ![]()
เดือนหก ประเพณีบุญบั้งไฟ การทำบุญบั้งไฟเป็นการขอฝน ซึ่งการทำบุญเดือนหกถือเป็นงานสำคัญก่อนการทำนา เฉกเช่นทุกๆปี เทศบาลตำบลขวาวร่วมกับชมรมกำนันผู้ใหญ่บ้านและพี่น้องประชาชนตำบลขวาว ได้พร้อมกันจัดงานประเพณีบุญบั้งไฟให้ยิ่งใหญ่ตระการตา ที่สำคัญนักท่องเที่ยวจะได้ชมขบวน "เซิ้งผ้าหมี่" หนึ่งเดียวในโลก หาชมได้ที่บ้านขวาวแห่งเดียวเท่านั้น โดยปี 2566 นี้ ได้กำหนดจัดงานเป็นเวลา 2 วัน คือ ในวันแรกเป็นวันแห่ ตั้งขบวน ณ บริเวณสนามโรงเรียนชุมชนบ้านขวาว โดยมีการประกวดขบวนแห่รำเซิ้่ง และการประกวดขบวนบั้งไฟสวยงาม จากนั้นเคลื่อนขบวนแห่ผ่านถนนเส้นกลางบ้านเข้าสู่วัดสระโบสถ์ และในวันที่สองเป็นวันจุดบั้งไฟ ณ ลานสาธารณหนองคู หมู่ที่ 9 บรรยากาศเต็มไปด้วยความม่วนซื่นสนุกสนาน สร้างความประทับใจแก่บรรดานักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ
เดือนเจ็ด ทำบุญซำฮะ (ล้าง) หรือบุญบูชาบรรพบุรุษ มีการเซ่นสรวงหลักเมือง หลักบ้าน ปู่ตา ผีตาแฮก ผีเมือง เป็นการทำบุญเพื่อระลึกถึงผู้มีพระคุณ |
|||||
เดือนแปด ทำบุญเข้าพรรษาซึ่งเป็นประเพณีทางพุทธศาสนาโดยตรง ลักษณะการจัดงานจึงคล้ายกับทางภาคอื่นๆ ของประเทศไทย เช่น มีการทำบุญตักบาตร ถวายภัตตาหารแด่พระภิกษุสงฆ์สามเณร มีการฟังธรรมเทศนาตอนบ่าย ชาวบ้านหล่อเทียนใหญ่ถวายเป็นพุทธบูชาและเก็บไว้ตลอดพรรษา การนำไปถวายวัดจะมีขบวนแห่ฟ้อนรำเพื่อให้เกิดความคึกคักสนุกสนาน ประเพณีแห่เทียนพรรษาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดต้องเป็นที่จังหวัดอุบลราชธานี เดือนเก้า ประเพณีทำบุญข้าวประดับดิน เป็นการทำบุญเพื่ออุทิศแก่ญาติผู้ล่วงลับ เพื่อบูชาผีบรรพบุรุษและผีไร้ญาติ โดยชาวบ้านจะทำการจัดอาหาร ประกอบด้วยข้าว ของหวาน หมากพลู บุหรี่ ห่อด้วยใบตองกล้วย ร้อยเป็นพวง เตรียมไว้ถวายพระช่วงเลี้ยงเพล บางพื้นที่อาจจะนำห่อข้าวน้อย เหล้า บุหรี่ แล้วนำไปวางหรือแขวนไว้ตามต้นไม้ และกล่าว เชิญวิญญาณของบรรพบุรุษและญาติมิตรที่ล่วงลับไปมารับส่วนกุศลในครั้งนี้ ต่อมาใช้วิธีการกรวดน้ำหลังการถวายภัตตาหารพระสงฆ์แทน การทำบุญข้าวประดับดิน นิยมทำกันในวันแรม 14 ค่ำ เดือนเก้า หรือที่เรียกว่า บุญเดือนเก้า เดือนสิบ ประเพณีทำบุญข้าวสากหรือข้าวสลาก (สลากภัตร) ตรงกับวันเพ็ญ เดือนสิบ ผู้ถวายจะเขียนชื่อของตนลงในภาชนะที่ใส่ของทาน และเขียนชื่อลงในบาตร ภิกษุสามเณรรูปใดจับได้ สลากของใคร ผู้นั้นจะเข้าไปถวายของ เมื่อพระฉันเสร็จแล้วจะมีการฟังเทศน์ เพื่อเป็นการอุทิศให้แก่ผู้ตาย |
|||||
เดือนสิบเอ็ด ประเพณีทำบุญออกพรรษา ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือนสิบเอ็ด พระสงฆ์จะแสดงอาบัติ ทำการปวารณา คือ การเปิดโอกาสให้ว่ากล่าวตักเตือนกันได้ ต่อมาเจ้าอาวาสหรือพระผู้ใหญ่จะให้โอวาทเตือนพระสงฆ์ ให้ปฏิบัติตนอย่างผู้ทรงศีล สำหรับตำบลขวาว เป็นประจำทุกๆ ปี ที่ชาวบ้านจะได้มารวมเพื่อประกอบพิธีกรรมที่เรียกว่า "ประเพณีกวนข้วทิพย์" (มธุปายาส) เป็นพิธีกรรมของศาสนาพรหมณ์ที่มีสอดแทรกเข้ามาในพิธีกรรมทางพุทธศาสนา เพื่อถวายแด่พระภิกษุสงฆ์ และบูชาพระรัตนตรัย พิธีกวนข้าวทิพย์ได้ยึดถือปฏิบัติเป็นประเพณีสืบต่อกันมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โดยมีความเชื่อว่า เมื่อทำพิธีกรรมครบถ้วนแล้วจะเป็นสิริมงคลแก่ผู้ทำและผู้บริโภค และถือเป็นประเพณีที่มีความสำคัญต่อชุมชนและศาสนาทำให้เกิดความรัก ความสามัคคีในชุมชน หมู่คณะ มีส่วนร่วมในการธำรงรัักษามรกดทางวัฒนธรรมให้อยู่อย่างยั่งยืนสืบไป |