ข้อมูลพื้นฐาน

สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานของเทศบาลตำบลขวาว

1. สภาพทั่วไป

ลักษณะและสภาพทั่วไปของเทศบาลตำบลขวาว

   เดิมตำบลขวาวเป็นตำบลที่เก่าแก่  มีผู้ใหญ่ผู้เฒ่าเล่าลืบต่อกันมา  เมื่อสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย  สมัยพระเทพราชาครองสมบัติเจ้าควาญท่อฟ้า (ควาญช้าง)  มาจากเมืองยโสธร  ได้นำช้างมาเลี้ยงที่คำหมากเว  (อ.เสลภูมิ  พบว่ามีความอุดมสมบูรณ์จึงได้มาตั้งบ้านและมีต้นขวาวเป็นจำนวนมาก  จึงตั้งชื่อว่าบ้านขวาวอีกกลุ่มหนึ่งไปตั้งที่บ้านเมืองไพรจึงเรียกว่าสองหมู่บ้านว่า “ ขวาวใหญ่ - เมืองไพร ”   และหัวหน้าหมู่บ้านคนแรกชื่อ  “ ขุนขวาวขันธรักษ์ ”

   ซึ่งเดิมเทศบาลตำบลขวาวเป็นองค์กรปกครองท้องถิ่นในรูปแบบองค์การบริหารส่วนตำบลขวาว ต่อมาได้เปลี่ยนแปลงฐานะขององค์การบริหารส่วนตำบลขวาวเป็นเทศบาลตำบลขวาว เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ.2551 เทศบาลตำบลขวาวมีพื้นที่ทั้งหมด 57.50 ตารางกิโลเมตรหรือประมาณ  35,938 ไร่   
โดยครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด 16 หมู่บ้าน

ขนาดที่ตั้งและอาณาเขต

เทศบาลตำบลขวาว ตั้งอยู่ห่างจากอำเภอเสลภูมิ ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ระยะทางประมาณ 8 กิโลเมตร และอยู่ห่างจากจังหวัดร้อยเอ็ด 
38 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับท้องถิ่นอื่น ๆ ดังนี้ 

       ทิศเหนือ       ติดกับตำบลนาเลิงและตำบลเมืองไพร  อำเภอเสลภูมิ  จังหวัดร้อยเอ็ด

       ทิศใต้          ติดกับตำบลนางาม  อำเภอเสลภูมิ  จังหวัดร้อยเอ็ด

       ทิศตะวันออก   ติดกับตำบลเดิด  อำเภอเมือง  จังหวัดยโสธร 

       ทิศตะวันตก    ติดกับตำบลนาเลิง  อำเภอเสลภูมิ  จังหวัดร้อยเอ็ด

ลักษณะภูมิประเทศ 

       ลักษณะภูมิประเทศทั่วไปตำบลขวาว มีส่วนมากเป็นที่ราบลุ่มน้ำท่วมขัง มีแม่น้ำยังกั้นเขตแดนระหว่างจังหวัดร้อยเอ็ดและจังหวัดยโสธร
ด้านใต้มีลำน้ำชีหลง เป็นแนวแบ่งเขตระหว่างตำบลนาเลิงและตำบลนางาม ตอนกลางมีลำห้วยปลาโพงไหลผ่านระหว่าง หมู่ที่ 10,2,3 ลงสู่แม่น้ำยังที่
บ้านสะทอน หมู่ที่ 3 และมีพื้นที่ดอนสูง หมู่ที่ 10 ซึ่งเป็นที่สาธารณะประโยชน์

ลักษณะภูมิอากาศ

       ภูมิอากาศในเขตเทศบาลมี 3 ฤดู  คือ

       1.  ฤดูร้อน  เริ่มร้อนประมาณกลางเดือนกุมภาพันธ์จนถึงประมาณกลางเดือนพฤษภาคม

       2.  ฤดูฝน  เริ่มฤดูฝนประมาณกลางเดือนพฤษภาคมไปจนต้นถึงตุลาคม

       3.  ฤดูหนาว  เริ่มฤดูหนาวประมาณเดือนตุลาคมไปจนถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ 

2.  ด้านโครงสร้างพื้นฐาน

การคมนาคมภายในเขตเทศบาล
    ระยะทางจากตำบลไปถึงอำเภอเสลภูมิประมาณ 8 กิโลเมตร โดยมีถนนลาดยางสายเสลภูมิ-ยโสธร  และสายเสลภูมิ-โพธิ์ตาก ผ่านเขตตำบลมีถนนลาดยางเชื่อมต่อเข้าไปยังศูนย์กลางตำบล  (เทศบาล)  โดยมีถนนลาดยางและถนนคอนกรีตเสริมเหล็กเชื่อมต่อเข้าไปสู่หมู่บ้าน

    สำหรับการคมนาคมโดยภาพรวมแล้ว ถนนที่ใช้สัญจรไปมาในเขตเทศบาลตำบลขวาวเป็นถนนคอนกรีตเสริมเหล็กเป็นส่วนใหญ่  มีบางเส้นทางที่ยังเป็นถนนลาดยางและถนนลูกรัง โดยถนนแต่ละสายยังขาดท่อระบายน้ำเวลาฝนตกทำให้เกิดน้ำท่วมขังตามผิวจราจร ทำให้ถนนชำรุดเป็นหลุมเป็นบ่อ และ
บางครั้งเกิดน้ำท่วมขัง ทำให้ทรัพย์สินเสียหายและก่อให้เกิดแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์พาหะนำโรคในฤดูฝนเกิดปัญหาโรคติดต่อตามมา

การไฟฟ้า

     ครัวเรือนที่มีไฟฟ้าใช้  2,,082 หลังคาเรือน  

การประปา

     ครัวเรือนที่ใช้บริการน้ำประปา จำนวน 2,082  หลังคาเรือน

3. สภาพทางด้านเศรษฐกิจของเทศบาลตำบลขวาว

     การเกษตรกรรม

         เทศบาลตำบลขวาว  พื้นที่ส่วนใหญ่ใช้ในการปลูกข้าวประมาณ  21,401 ไร่  โดยมีพันธุ์พืชและพันธ์สัตว์เศรษฐกิจดังนี้

     พันธุ์พืชเศรษฐกิจ

          ข้าวนาปี      ได้แก่ กข.6,ขาวดอกมะลิ 105

          ข้าวนาปรัง    ได้แก่  กข.23,สุพรรณบุรี1,ชัยนาท 1

          มะม่วง       ได้แก่  มะม่วงน้ำดอกไม้,มะม่วงเขียวเสวย

     พันธุ์สัตว์เศรษฐกิจ

           โค                

           ไก่พื้นเมือง

           เป็ดเนื้อ/เป็ดเทศ

      พันธุ์ปลาเศรษฐกิจ

           ปลากินเนื้อ   ได้แก่   ปลาดุก

           ปลากินพืช    ได้แก่  ปลานิล ปลาไน ปลาตะเพียน

       กิจการค้าและบริการ

           เทศบาลตำบลขวาว  ประชาชนส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรม  และอาชีพที่สำคัญรองลงมาคือ  กิจการค้าและบริการ  ที่จำนวนสินค้า
อุปโภคบริโภคในชีวิตประจำวัน  เพื่อตอบสนองความต้องการของประชากรในชุมชนและเป็นรายได้ของเทศบาลที่จัดเก็บภาษี  มีดังนี้

           - ร้านค้า                  จำนวน           57      แห่ง

           - ร้านเสริมสวย            จำนวน           6        แห่ง

           - ร้านบริการซ่อมรถ        จำนวน           10      แห่ง

           - ปั้มน้ำมัน                 จำนวน           6        แห่ง

           - ปั้มน้ำมันหยอดเหรียญ     จำนวน           2        แห่ง

           - ร้านอาหาร               จำนวน           17      แห่ง

           - โรงสี                     จำนวน           13      แห่ง

           - ขายวัสดุก่อสร้าง           จำนวน           2        แห่ง

           - ร้านตัดเย็บเสื้อผ้า           จำนวน           4        แห่ง

           - ร้านรับซื้อของเก่า           จำนวน           3        แห่ง

           - คลินิก                     จำนวน           3        แห่ง

           - ร้านรับซื้อข้าว              จำนวน           6        แห่ง

           - บริการล้างรถ              จำนวน           1        แห่ง

           -  บริการบ้านเช่า             จำนวน           8        แห่ง

           -  บริการถ่ายเอกสาร         จำนวน           2        แห่ง

           -  ผลิตน้ำดื่ม                 จำนวน           1        แห่ง

           -  ตัดผมชาย                 จำนวน           2        แห่ง

           -  เชื่อมโลหะ                  จำนวน           5        แห่ง

           -  ร้านซ่อมอิเล็กทรอนิก        จำนวน           2        แห่ง

           -  ร้านสะสมน้ำแข็ง             จำนวน           1        แห่ง

           -  รีสอร์ท                     จำนวน           1        แห่ง

           -  ร้านผลิตดอกไม้ไฟ            จำนวน           1        แห่ง

           -  ร้านสะสมปุ๋ย                จำนวน           6        แห่ง

           -  ร้านขายผ้า                  จำนวน           1        แห่ง

           -  ร้านบริการอินเตอร์เน็ต        จำนวน           6        แห่ง

           -  ร้านค้าสะดวกซื้อขนาดใหญ่     จำนวน           1        แห่ง

                          ( ข้อมูลผู้ชำระภาษี  ณ  วันที่  30 พฤษภาคม 2558 )

            ฐานะทางเศรษฐกิจของประชาชนตำบลขวาว จากข้อมูล จปฐ. ปี พ.ศ. ๒๕๕๘   มีรายได้เฉลี่ย 70,459 บาท / คน / ปี

4   ด้านสังคม

จำนวนประชากร

จำนวนประชากรในเขตเทศบาลตำบลขวาว  หมู่บ้านทั้งหมดมี  16  หมู่บ้านอยู่ในเขตของเทศบาลตำบลขวาว  ดังนี้

 

หมู่ที่

บ้าน

จำนวนครัวเรือน

จำนวนประชากร

ชาย

หญิง

รวม

1

โนนยาง

173

392

372

764

2

โนนแพง

64

155

162

317

3

สะทอน

137

267

280

547

4

ทรายมูล

174

409

393

802

5

หัน

147

343

325

668

6

หน่อง

140

329

324

653

7

ขวาว

117

228

241

469

8

ขวาว

127

238

242

480

9

ขวาว

180

397

412

809

10

โนนยาง

182

454

481

935

11

ขวาว

122

274

269

543

12

หน่อง

89

189

195

374

13

หัน

99

201

207

408

14

สะทอน

132

304

294

598

15

ขวาว

111

179

203

382

16

ขวาว

86

187

200

387

รวม

2,082

4,536

4,600

9,136

 

(ข้อมูลทะเบียนราษฎร  เดือน พฤษภาคม   พ.ศ. 2558 )

ประชากรในเขตเทศบาลตำบลขวาว จำนวนทั้งสิ้น  9,136  คน  จำแนกเป็นประชากรชายจำนวน  4,536  คน ประชากรหญิงจำนวน  4,600  คน จำนวนครัวเรือนทั้งสิ้น 2,082

 

  ครัวเรือน  มีความหนาแน่นของประชากรเฉลี่ย  230  คน/ตารางกิโลเมตร

                                  

การศึกษา 

1.  ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก  จำนวน  3         แห่ง

                   ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านขวาว       ตั้งอยู่  ณ  หมู่ที่  9 

                   ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหัน         ตั้งอยู่  ณ  หมู่ที่  5 

                   ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านโนนยาง      ตั้งอยู่  ณ  หมู่ที่  10

2.  โรงเรียนระดับประถมศึกษา  จำนวน  5  แห่ง

                    โรงเรียนบ้านทรายมูล                              ตั้งอยู่  ณ  หมู่ที่  4

                    โรงเรียนบ้านสะทอนโนนแพงประชาสรรค์              ตั้งอยู่  ณ  หมู่ที่  3

                    โรงเรียนบ้านโนนยาง                               ตั้งอยู่  ณ  หมู่ที่  1

                    โรงเรียนบ้านหันหน่องสามัคคี                       ตั้งอยู่  ณ   หมู่ที่  5

                    โรงเรียนชุมชนบ้านขวาว                            ตั้งอยู่  ณ  หมู่ที่  8

3.  โรงเรียนระดับมัธยมศึกษา  จำนวน  1  แห่ง

                   โรงเรียนขวาววิทยาคาร                                ตั้งอยู่  ณ  หมู่ที่  11

4.  แหล่งเรียนรู้ของชุมชน

                   ศูนย์การเรียนชุมชน                                จำนวน           1        แห่ง

                   ศูนย์ถ่ายเทคโนโลยีทางการเกษตรฯ                    จำนวน           1        แห่ง

                   ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร                                  จำนวน           1        แห่ง

                   ศูนย์บริการอินเตอร์เน็ตตำบลขวาว                    จำนวน           1        แห่ง

ข้อมูลด้านการสาธารณสุขและการอนามัย

                    โรงพยาบาลชุมชนฯ                           จำนวน               2            แห่ง

                    คลินิกเอกชน                                 จำนวน               2            แห่ง

                    ศูนย์สาธารณสุขมูลฐาน                       จำนวน           16           ศูนย์

                    ศูนย์ดูแลคนพิการ ผู้สูงอายุ ฯ                จำนวน           1             แห่ง

                            

5   ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ที่สาธารณประโยชน์ในพื้นที่ตำบลขวาว  ที่มีหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง  (นสล.)    มีรายละเอียดดังต่อไปนี้

1.  หนองผือ  อยู่ในพื้นที่บ้านโนนยาง  หมู่ที่ 1  มีพื้นที่  19  ไร่  79  ตารางวา 

เกษตรกรสามารถนำน้ำไปใช้ประโยชน์ในการเพาะปลูกข้าวนาปี นาปรัง  การประมงและการเลี้ยงสัตว์

2.  หนองจอก  อยู่ในพื้นที่บ้านโนนยาง  หมู่ที่ 1  มีพื้นที่  8  ไร่  17  ตารางวา  

เกษตรกรสามารถนำน้ำไปใช้ประโยชน์ในการเพาะปลูกข้าวนาปี นาปรัง  การประมงและการเลี้ยงสัตว์

3.  ป่าดงยาง  อยู่ในพื้นที่บ้านโนนยาง  หมู่ที่ 1  มีพื้นที่  625  ไร่  1  งาน  59  1/10  ตารางวา  เป็นมีลักษณะเป็นป่าไม้นานาพันธุ์เป็นแหล่งอาหารป่า  และใช้ประโยชน์ในการเลี้ยงสัตว์ 

4.  หนองหญ้าแห้ง  อยู่ในพื้นที่บ้านโนนแพง  หมู่ที่ 2  มีพื้นที่  5  ไร่  3  งาน  34    ตารางวา   มีลักษณะเป็นหนองน้ำ  เกษตรกรสามารถนำน้ำไปใช้ประโยชน์ในการเพาะปลูกข้าวนาปี นาปรัง  การประมงและการเลี้ยงสัตว์

5.  ดอนปู่ตาบ้านโนนแพง  อยู่ในพื้นที่บ้านโนนแพง  หมู่ที่ 2  มีพื้นที่  3  ไร่  3  งาน  91  8/10  ตารางวา    เป็นพื้นที่ตั้งสำนักสงฆ์บ้านโนนแพง

6.  หนองครก  อยู่ในพื้นที่บ้านสะทอน  หมู่ที่ 3  มีพื้นที่  9  ไร่  2  ตารางวา  

มีลักษณะเป็นหนองน้ำ  สามารถนำน้ำไปใช้ประโยชน์ในการเพาะปลูกข้าวนาปี นาปรัง  การประมงและการเลี้ยงสัตว์

7.  กุดขี้นาค  อยู่ในพื้นที่บ้านสะทอน  หมู่ที่ 3  มีพื้นที่  22  ไร่  3  งาน  70  ตารางวา  

มีลักษณะเป็นหนองน้ำ  สามารถนำน้ำไปใช้ประโยชน์ในการเพาะปลูกข้าวนาปี นาปรัง  การประมงและการเลี้ยงสัตว์

8.  หนองหล่ม  อยู่ในพื้นที่บ้านสะทอน  หมู่ที่ 3  มีพื้นที่  7  ไร่  2  งาน  10  ตารางวา  

มีลักษณะเป็นหนองน้ำ  สามารถนำน้ำไปใช้ประโยชน์ในการเพาะปลูกข้าวนาปี นาปรัง  การประมงและการเลี้ยงสัตว์

9. หนองหวาย  อยู่ในพื้นที่บ้านสะทอน  หมู่ที่ 3  มีพื้นที่  124 ไร่  1 งาน  85 1/10  ตารางวา   มีลักษณะเป็นหนองน้ำ  สามารถนำน้ำไปใช้ประโยชน์ในการเพาะปลูกข้าวนาปี นาปรัง  การประมงและการเลี้ยงสัตว์

10. หนองเซียม  อยู่ในพื้นที่บ้านสะทอน  หมู่ที่ 3  มีพื้นที่  21  ไร่  45  ตารางวา   มีลักษณะเป็นหนองน้ำ  สามารถนำน้ำไปใช้ประโยชน์ในการเพาะปลูกข้าวนาปี นาปรัง  การประมงและการเลี้ยงสัตว์

11.หนองเปลือย  อยู่ในพื้นที่บ้านสะทอน  หมู่ที่ 3  มีพื้นที่  36  ไร่  2  งาน  14     ตารางวา   มีลักษณะเป็นหนองน้ำ  สามารถนำน้ำไปใช้ประโยชน์ในการเพาะปลูกข้าวนาปี นาปรัง   การประมงและการเลี้ยงสัตว์

12. ที่สาธารณประโยชน์  อยู่ในพื้นที่บ้านสะทอน  หมู่ที่ 3  มีพื้นที่  1  ไร่  55  ตารางวา

13.  ที่สาธารณประโยชน์หนองเปลือย  อยู่ในพื้นที่บ้านสะทอน หมู่ที่ 3  มีพื้นที่  22 ไร่  2  งาน  52  ตารางวา

14.  ป่าดงทรายมูล  อยู่ในพื้นที่บ้านทรายมูล  หมู่ที่ 4  มีพื้นที่  285  ไร่   17  ตารางวา   มีลักษณะเป็นป่าไม้สาธารณะประดยชน์  มีพันธุ์ไม้ขนาดใหญ่จำนวนมาก  เป็นที่ตั้งของสำนักสงฆ์  ใช้ประโยชน์ในการเลี้ยงสัตว์  และเป็นป่าเศรษฐกิจ เป็นแหล่งอาหารชุมชน

15.  ป่าหัวโล่โนนพับ  อยู่ในพื้นที่บ้านทรายมูล  หมู่ที่ 4  มีพื้นที่  20  ไร่  2  งาน  18  ตารางวา  เป็นมีลักษณะเป็นป่าไม้   ใช้ประโยชน์ในการเลี้ยงสัตว์  และเป็นป่าเศรษฐกิจ เป็นแหล่งอาหารชุมชน

 16.  หนองเหย  อยู่ในพื้นที่บ้านทรายมูล  หมู่ที่ 4  มีพื้นที่  47  ไร่  1  งาน  75      ตารางวา   มีลักษณะเป็นหนองน้ำ  สามารถนำน้ำไปใช้ประโยชน์ในการเพาะปลูกข้าวนาปี นาปรัง   การประมงและการเลี้ยงสัตว์

17.  กุดหวาย  อยู่ในพื้นที่บ้านทรายมูล  หมู่ที่ 4  มีพื้นที่  115  ไร่  3  งาน  42  ตารางวา   มีลักษณะเป็นสระน้ำและมีป่าไม้  และสามารถนำน้ำไปใช้ประโยชน์ในการเพาะปลูกข้าวนาปี นาปรัง  การประมงและการเลี้ยงสัตว์

18.  หนองหล่ม  อยู่ในพื้นที่บ้านทรายมูล  หมู่ที่ 4  มีพื้นที่  9  ไร่  3  งาน  43  ตารางวา   มีลักษณะเป็นหนองน้ำตื้นและเป็นป่าไม้  ใช้ประโยชน์ในการเลี้ยงสัตว์

19.  หนองแข้  อยู่ในพื้นที่บ้านทรายมูล  หมู่ที่ 4  มีพื้นที่  47  ไร่  1  งาน  75  ตารางวา   มีลักษณะเป็นหนองน้ำ  สามารถนำน้ำไปใช้ประโยชน์ในการเพาะปลูกข้าวนาปี นาปรัง  การประมงและการเลี้ยงสัตว์

20.  ดอนปู่ตาบ้านหัน  อยู่ในพื้นที่บ้านหัน  หมู่ที่ 5  มีพื้นที่  13  ไร่   17  ตารางวา   เป็นมีลักษณะเป็นป่าไม้  ใช้ประโยชน์ในการเลี้ยงสัตว์  และเป็นป่าเศรษฐกิจ เป็นแหล่งอาหารชุมชน

21.  หนองเสือน้อย  อยู่ในพื้นที่บ้านหน่อง  หมู่ที่ 6  มีพื้นที่   43  ไร่  1  งาน 22   ตารางวา  มีลักษณะเป็นหนองน้ำตื้น  สามารถนำน้ำไปใช้ประโยชน์ในการเพาะปลูกข้าวนาปี นาปรัง  การประมงและการเลี้ยงสัตว์

22.  หนองผักก้าม  อยู่ในพื้นที่บ้านหน่อง  หมู่ที่ 6  มีพื้นที่  89  ไร่  52  ตารางวา   มีลักษณะเป็นหนองน้ำ  ประชาชนสามารถนำน้ำไปใช้ประโยชน์ในการเพาะปลูกข้าวนาปี นาปรัง     การประมงและการเลี้ยงสัตว์

23.  หนองสำแฮด  อยู่ในพื้นที่บ้านหน่อง  หมู่ที่ 6  มีพื้นที่  29  ไร่  1  งาน  63     ตารางวา   มีลักษณะเป็นหนองน้ำ  ประชาชนสามารถนำน้ำไปใช้ประโยชน์ในการเพาะปลูกข้าวนาปี นาปรัง  การประมงและการเลี้ยงสัตว์

24.  ดอนปู่ตาบ้านหน่อง  อยู่ในพื้นที่บ้านหน่อง  หมู่ที่ 6  มีพื้นที่  11 ไร่  1  งาน  44   7/10  ตารางวา   มีลักษณะเป็นป่าไม้  ใช้ประโยชน์ในการเลี้ยงสัตว์  และเป็นป่าเศรษฐกิจ เป็นแหล่งอาหารชุมชน

25.  หนองอีกุ้ม อยู่ในพื้นที่บ้านหน่อง  หมู่ที่ 6  มีพื้นที่  36 ไร่ 27  ตารางวา   มีลักษณะเป็นหนองน้ำ  ประชาชนสามารถนำน้ำไปใช้ประโยชน์ในการเพาะปลูกข้าวนาปี นาปรัง     การประมงและการเลี้ยงสัตว์

26.  ป่าโคกดอนล้ำ  อยู่ในพื้นที่บ้านหน่อง หมู่ที่ 6  มีพื้นที่  284 ไร่  2  งาน  20 9/10ตารางวา   เป็นมีลักษณะเป็นป่าไม้   ใช้ประโยชน์ในการเลี้ยงสัตว์  และเป็นป่าเศรษฐกิจ เป็นแหล่งอาหารชุมชน

27.  ป่าดอนเต่าไห   อยู่ในพื้นที่บ้านขวาว  หมู่ที่ 7,8,9  มีพื้นที่  201  ไร่  3  งาน  55  3/10  ตารางวา   เป็นมีลักษณะเป็นป่าไม้   ใช้ประโยชน์ในการเลี้ยงสัตว์  และเป็นป่าเศรษฐกิจ เป็นแหล่งอาหารชุมชน

28.  ป่าดอนปู่ตา   อยู่บริเวณพื้นที่บ้านขวาว  หมู่ที่ 8  มีพื้นที่  9  ไร่  16  ตารางวา   มีลักษณะเป็นป่าไม้   ใช้ประโยชน์ในการเลี้ยงสัตว์  และเป็นป่าเศรษฐกิจ เป็นแหล่งอาหารชุมชน

29.  หนองนางเต่า   อยู่บริเวณพื้นที่บ้านขวาว  หมู่ที่ 9  มีพื้นที่  25  ไร่  1  งาน  2  ตารางวา   มีลักษณะเป็นหนองน้ำ  ประชาชนสามารถนำน้ำไปใช้ประโยชน์ในการเพาะปลูกข้าวนาปี นาปรัง  การประมงและเลี้ยงสัตว์

30.  หนองโนนแท่น  อยู่บริเวณพื้นที่บ้านขวาว  หมู่ที่ 8  มีพื้นที่  97  ไร่  1  งาน  81 ตารางวา   มีลักษณะเป็นเกาะกลางมีหนองน้ำล้อมรอบ ใช้เป็นสถานที่จัดกิจกรรมงานประเพณีต่าง ๆ   เป็นที่ออกกำลังกายของประชาชนและสามารถนำน้ำไปใช้ประโยชน์ในการเพาะปลูกข้าวนาปี นาปรัง  การประมงและการเลี้ยงสัตว์

31.  ป่าสาธารณประโยชน์  อยู่บริเวณพื้นที่บ้านสะทอน (อยู่ข้างหนองสิม)  หมู่ที่ 14  มีพื้นที่  8  ไร่ 3  งาน  15   ตารางวา   มีลักษณะเป็นป่าไม้   ใช้ประโยชน์ในการเลี้ยงสัตว์  และเป็นป่าเศรษฐกิจ เป็นแหล่งอาหารชุมชน

32. ที่สาธารณะประโยชน์วัดน้อย  หมู่ที่  7  มีพื้นที่  5  ไร่  มีลักษณะเป็นป่าไม้ใช้ประโยชน์ในการเลี้ยงสัตว์  เป็นแหล่งอาหารชุมชน

33.ที่สาธารณะประโยชน์โนนหนามแท่ง 

34.ที่สาธารณะประโยชน์หนองคู  หมู่ที่  9  มีพื้นที่    มีลักษณะเป็นป่าไม้ใช้ประโยชน์ในการเลี้ยงสัตว์


6    ด้านการเมือง - การบริหาร

การจัดองค์กรบริหารของเทศบาล

                   เทศบาลเป็นรูปแบบการปกครององค์กรปกครองท้องถิ่นรูปแบบหนึ่ง   เป็นทบวงการเมืองที่มีฐานะเป็นนิติบุคคล  การจัดรูปแบบการบริหารประกอบด้วยโครงสร้างที่สำคัญ  2  ส่วน     คือ

1.  สภาเทศบาล  ประกอบด้วย  สมาชิกสภาเทศบาลซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรง

ของประชาชน  ทำหน้าที่ในการกำหนดนโยบาย  ตัดสินใจ  และควบคุมการทำงานของฝ่ายบริหาร   จำนวนสมาชิกสภาเทศบาลตำบล  มีจำนวน  12  คน  ดำรงตำแหน่งคราวละ  4  ปี  อำนาจหน้าที่ที่สำคัญของสภาเทศบาล  สรุปได้ดังนี้

                   ตราเทศบัญญัติ  เทศบัญญัติเป็นกฎหมายของเทศบาล  ใช้บังคับเฉพาะในเขตเทศบาลผู้มีสิทธิเสนอร่างเทศบัญญัติได้แก่  คณะผู้บริหาร  สมาชิกสภาเทศบาล  หรือประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งตามที่กฎหมายกำหนด  เว้นแต่ที่เกี่ยวกับการเงินจะต้องให้นายกเทศมนตรีรับรองร่วมด้วย  การพิจารณาให้พิจารณา 3 วาระ  เมื่อสภาเทศบาลลงมติให้ความเห็นชอบแล้วก็จะส่งให้ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจารณาให้ความเห็นชอบแล้วประกาศใช้ต่อไป

                   ควบคุมการบริหารงานของคณะผู้บริหาร  กระทำได้   คือ  การตั้งกระทู้ถาม  และการอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี

                   ให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้งคณะกรรมการต่างๆ  เช่น  คณะกรรมการสามัญ  และคณะกรรมการวิสามัญ  เพื่อทำหน้าที่หรือพิจารณาในภารกิจที่ได้รับมอบหมายจากสภาเทศบาล

 

2.  นายกเทศมนตรี

ทำหน้าที่เป็นฝ่ายบริหารในกิจการของเทศบาล  ประกอบด้วยนายกเทศมนตรี 1  คน

ซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน มีระยะเวลาการดำรงตำแหน่งคราวละสี่ปีนับแต่วันเลือกตั้ง แต่จะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกินสองวาระไม่ได้    นายกเทศมนตรีอาจแต่งตั้งรองนายกเทศมนตรี จำนวน 2  คน และที่ปรึกษานายกเทศมนตรีและเลขานุการนายกเทศมนตรีแต่งตั้งได้จำนวนรวมกันไม่เกิน  2  คน ซึ่งมิใช่สมาชิกสภาเทศบาล   เป็นผู้ช่วยเหลือในการบริหารราชการของเทศบาลตามที่นายกเทศมนตรีมอบหมาย

อำนาจหน้าที่ของนายกเทศมนตรี

1.   กำหนดนโยบายโดยไม่ขัดต่อกฎหมาย และรับผิดชอบในการบริหารราชการ

ของเทศบาลให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ เทศบัญญัติ และนโยบาย

2.  สั่ง  อนุญาต และอนุมัติเกี่ยวกับราชการของเทศบาล

3.  แต่งตั้งและถอดถอนรองนายกเทศมนตรี ที่ปรึกษานายกเทศมนตรี และ

เลขานุการนายกเทศมนตรี

4.  วางระเบียบเพื่อให้งานของเทศบาลเป็นไปด้วยความเรียบร้อย

5.  รักษาการให้เป็นตามเทศบัญญัติ

6.  ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติไว้ใน

พระราชบัญญัตินี้และกฎหมายอื่น 

                   การจัดส่วนการบริหารเทศบาล

                   เทศบาลตำบลขวาว  แบ่งส่วนการบริหาร   ดังนี้

                   1. สำนักปลัดเทศบาล   มีหน้าที่ดำเนินการในกิจการของเทศบาล  ให้เป็นไปตามกฎหมาย  ระเบียบแบบแผน   และนโยบายของเทศบาล  ทั้งมีหน้าที่เป็นเลขานุการของสภาเทศบาลและคณะผู้บริหาร  แบ่งเป็นงานในความรับผิดชอบ  ดังนี้คือ   งานธุรการ   งานประชาสัมพันธ์  งานนิติการ   งานการเจ้าหน้าที่  งานทะเบียนราษฎร  งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย  งานแผนและงบประมาณ  ตลอดจนงานอื่น ๆ ที่มิได้กำหนดไว้ว่าเป็นงานของกองใด

                   2. กองคลัง   มีหน้าที่ดำเนินกิจการเกี่ยวกับการเงินและบัญชี  พัสดุและทรัพย์สินของเทศบาล  การกู้เงิน   งานผลประโยชน์ของเทศบาล งานแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สิน  ตลอดจนงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการเงินที่มิได้กำหนดไว้เป็นงานของกองใด

                   3. กองช่าง   มีหน้าที่ดำเนินกิจการเกี่ยวกับงานโยธา  งานบำรุงทางบก  ทางระบายน้ำ  สวนสาธารณะ  งานสำรวจและแบบแผน  งานสถาปัตยกรรมและผังเมือง  งานสาธารณูปโภค  งานสาธารณูปการ   ตลอดจนงานสถานที่และไฟฟ้าสาธารณะ       

 

โครงสร้างบุคลากรของเทศบาลตำบลขวาว  แบ่งออกเป็น   

          1. ฝ่ายการเมือง    มีจำนวนบุคลากรทั้งสิ้น       17       คน  ดังต่อไปนี้

                   -  นายกเทศมนตรี                จำนวน    1    คน   

                   -  รองนายกเทศมนตรี             จำนวน   2    คน   

                   -  สมาชิกสภาเทศบาล             จำนวน   12    คน

                   -  เลขานุการนายกเทศมนตรี       จำนวน    1    คน

                   -  ที่ปรึกษานายกเทศมนตรี         จำนวน    1   คน

 2.  ฝ่ายข้าราชการ ลูกจ้าง       มีบุคลากรทั้งหมด     27   คน 

สำนักปลัดเทศบาล    

พนักงานเทศบาล   18  คน, พนักงานจ้าง  18 คน    รวม   36   คน

กองคลัง                  

พนักงานเทศบาล   5  คน, พนักงานจ้าง   5    คน  รวม   10   คน

กองช่าง                  

พนักงานเทศบาล   3  คน, พนักงานจ้าง   8    คน  รวม   11   คน

Visitors: 96,028